การใช้ประโยชน์จากการค้นพบทางวิทยาศาสตร์พัฒนามอบวัคซีน
ข้อมูลการศึกษาโรค
การติดเชื้อไวรัสอาร์เอสวี (Respiratory syncytial virus; RSV) เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยและแพร่หลายของโรคทางเดินหายใจเฉียบพลัน โดยประมาณการว่ามีผู้สูงอายุ 177,000 คนในสหรัฐอเมริกาที่เข้ารับการรักษาโรงพยาบาลในแต่ละปี และมีผู้เสียชีวิต 14,000 คนจากโรคนี้ในแต่ละปี2 ภาระโรคของโรคติดเชื้อไวรัสอาร์เอสวี ในเด็กก็เป็นเรื่องที่น่าตกใจเช่นกัน ทั่วโลกมีการประมาณว่ามีเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปีป่วยเป็นโรคติดเชื้อไวรัสอาร์เอสวีประมาณ 33 ล้านคนในแต่ละปี โดยมีเด็กประมาณ 3 ล้านคนที่ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลและมีเด็กประมาณ 120,000 คนที่เสียชีวิตในแต่ละปีจากภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อ3
ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนที่ได้รับการอนุมัติให้ใช้ในการป้องกันชื้อไวรัสอาร์เอสวี แต่ไฟเซอร์มีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัสอาร์เอสวี สําหรับทั้งผู้ใหญ่ผ่านการฉีดวัคซีนโดยตรงและสำหรับทารกผ่านการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของมารดา
การติดเชื้อไวรัสอาร์เอสวี (RSV) เป็นสาเหตุที่พบบ่อยและแพร่หลายของโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันโดยยังไม่มีวัคซีนที่สามารถป้องกันได้1 ไวรัสนี้มีการแพร่กระจายได้ง่ายและมักส่งผลกระทบต่อปอดและทางเดินหายใจ1
การติดเชื้อไวรัสอาร์เอสวี (RSV) สามารถเกิดขึ้นได้ในคนทุกวัย สําหรับผู้ใหญ่ ความเสี่ยงของการติดเชื้อที่รุนแรงจะเพิ่มขึ้นตามอายุรวมถึงในผู้ที่มีโรคหัวใจหรือโรคปอดเรื้อรังหรือระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ1
ไวรัสนี้สามารถแพร่กระจายได้หลายวิธี เช่น ผ่านการไอหรือจามจากผู้ติดเชื้อ การสัมผัสเชื้อไวรัสจากสารคัดหลั่งในตา จมูก หรือปาก การสัมผัสพื้นผิวที่มีเชื้อไวรัสอยู่และการสัมผัสโดยตรงกับเชื้อไวรัส (เช่น การจูบกับผู้ติดเชื้อ)4
ไวรัสนี้แพร่กระจายได้ง่ายและมักส่งผลกระทบต่อปอดและทางเดินหายใจ1 สําหรับผู้ใหญ่ส่วนใหญ่การติดเชื้ออาจรู้สึกเหมือนเป็นหวัดทั่วไป แต่สําหรับทารก ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอ และผู้สูงอายุ ไวรัสนี้อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้1
ปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษาให้หายขาดหรือวัคซีนป้องกันการติดเชื้อไวรัสอาร์เอสวี (RSV) โดยทางการแพทย์สามารถให้การดูแลแบบประคับประคองเท่านั้น เช่น การให้ออกซิเจนและสารน้ำแก่ผู้ที่มี ทางการแพทย์ถูกจํากัดให้การดูแลสนับสนุนเท่าที่มีเพียงอย่างเดียวคือการใช้ยา palivizumab ซึ่งจำกัดเฉพาะทารกที่คลอดก่อนกำหนดหรือทารกที่มีโรคหัวใจหรือปอดอาการเจ็บป่วย นอกจากนี้ การรักษาที่มีเพียงอย่างเดียวคือการใช้ยา palivizumab ซึ่งจำกัดเฉพาะทารกที่คลอดก่อนกำหนดหรือทารกที่มีโรคหัวใจหรือปอด4,[ii],[iii] ดังนั้นจึงมีความจำเป็นทางการแพทย์อย่างยิ่งที่จะต้องพัฒนาวัคซีนที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพเพื่อเป็นทางเลือกในการป้องกันเพื่อลดอุบัติการณ์และความรุนแรงขอการติดเชื้อไวรัสอาร์เอสวี (RSV) อย่างไรก็ตามวัคซีนสําหรับเชื้อไวรัสอาร์เอสวี (RSV) เป็นเป้าหมายที่ยากลำบากมานานกว่าครึ่งศตวรรษเนื่องจากอุปสรรคทางวิทยาศาสตร์ ด้วยความช่วยเหลือจากการค้นพบทางวิทยาศาสตร์ใหม่ๆ ไฟเซอร์จึงมุ่งมั่นในการพัฒนาวัคซีนป้องกันการติดเชื้อไวรัสอาร์เอสวี (RSV) สําหรับทั้งผู้ใหญ่ผ่านการฉีดวัคซีนโดยตรงและสำหรับทารกผ่านการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของมารดา โครงการพัฒนาวัคซีนสําหรับผู้ใหญ่และมารดาของเราสอดคล้องกับภารกิจของเราในการสร้างผลกระทบทางสุขภาพที่สำคัญในทุกช่วงชีวิตโดยการรวมความมุ่งมั่นที่ไม่ย่อท้อในการพัฒนาวัคซีนใหม่ที่มีศักยภาพในการปลดล็อกคุณค่าและศักยภาพที่มีของวัคซีนเพื่อเป็นประโยชน์แก่โลกของเรา
มีความต้องการเร่งด่วนทั่วโลกในการพัฒนาวัคซีนที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ ที่จะเป็นทางเลือกในการป้องกันการติดเชื้อ เพื่อลดอุบัติการณ์และความรุนแรงของการติดเชื้อไวรัสอาร์เอสวี (RSV)
อย่างไรก็ตามการพัฒนาวัคซีนสำหรับป้องกันการติดเชื้อไวรัสอาร์เอสวี (RSV) เป็นเป้าหมายที่ยากลำบากมานานกว่าครึ่งศตวรรษเนื่องจากอุปสรรคทางวิทยาศาสตร์
ไฟเซอร์ได้เริ่มการศึกษาวิจัยทางคลินิกในระยะที่ 3 ทั่วโลกในเดือนกันยายน พ.ศ. 2564 เพื่อประเมินความปลอดภัย การเกิดปฏิกิริยาทางภูมิคุ้มกัน และประสิทธิภาพของวัคซีน Bivalent RSV prefusion F subunit (RSVpreF) สำหรับการป้องกันการติดเชื้อไวรัสอาร์เอสวี (RSV) ในผู้ใหญ่ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป
หากท่านสนใจเข้าร่วมการศึกษาทางคลินิกนี้ โปรดเยี่ยมชมที่เว็บไซต์ของการศึกษาเพื่อเรียนรู้เพิ่มเติม
อ้างอิง
Collins PL, Melero JA. Progress in understanding and controlling respiratory syncytial virus: still crazy after all these years. Virus Res. 2011; 162 (1-2): 80-99. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3221877/pdf/nihms326799.pdf Accessed 19 April 2018.
Centers for Disease Control and Prevention. “Older Adults Are at High Risk for Severe RSV Infection.” Accessed 15 June 2021. Page last reviewed 18 December 2020. Available at https://www.cdc.gov/rsv/factsheet-older-adults.html
Shi et al. Global, regional, and national disease burden estimates of acute lower respiratory infections due to respiratory syncytial virus in young children in 2015: a systematic review and modelling study. Lancet 2017 Sep 2; 390(10098): 946–958: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5592248/
Centers for Disease Control and Prevention. “RSV Transmission.” Accessed 22 July 2021. Available at https://www.cdc.gov/rsv/about/transmission.html.
Treating Acute Bronchiolitis Associated with RSV. American Family Physician. Accessed 14 July 2021. https://www.aafp.org/afp/2004/0115/p325.html
Zhou et al. Hospitalizations Associated With Influenza and Respiratory Syncytial Virus in the United States, 1993-2008. Clinical Infectious Diseases 2012. 54(10): 1427-1436. https://academic.oup.com/cid/article/54/10/1427/352114
Centers for Disease Control and Prevention. “Respiratory Syncytial Virus Infection (RSV): Trends and Surveillance.” Accessed 15 June 2021. Page last reviewed December 18, 2020. Available at https://www.cdc.gov/rsv/research/us-surveillance.html