Contact UsInvestorsCareersMediaScienceContact Us ติดต่อเราInvestorsCareersMediaScienceContact Us

โรคอ้วน

การพัฒนาการรักษาโรคอ้วนและการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับโรค​

หน้าหลักวิทยาศาสตร์โรคและเงื่อนไขโรคอ้วนHomePodcasts

ข้อมูลการศึกษาโรค

โรคอ้วนเป็นภาวะสุขภาพที่ร้ายแรงและกลายเป็นโรคที่มีอัตราการเป็นเพิ่มสูงขึ้น​ ซึ่งในบางกรณีสามารถส่งผลกระทบต่อผู้คนทั้งทางร่างกายและจิตใจ1 เนื่องจากการควบคุมอาหารและการออกกําลังกายเพียงอย่างเดียวมักจะไม่เพียงพอที่จะต่อสู้กับโรคอ้วนหรือภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้อง จึงเห็นได้ชัดว่าจําเป็นต้องมีวิธีการเพิ่มเติม การด้วยประสบการณ์และความเชี่ยวชาญด้านโรคหัวใจและหลอดเลือดและโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบการเผาผลาญ ไฟเซอร์มีจุดมุ่งหมายไม่เพียงแต่พัฒนาการรักษาที่ก้าวหน้าสําหรับผู้ที่เป็นโรคอ้วน แต่ยังช่วยสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับโรคอ้วนอีกด้วย

สําหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเชื่อมโยงและการทดลองทางคลินิกของเราที่เกี่ยวข้องกับโรคอ้วนโปรดไปที่หน้านี้

โรคอ้วน คืออะไร

โรคอ้วนเป็นภาวะสุขภาพที่ร้ายแรงที่มีลักษณะเฉพาะด้วยน้ำหนักหรือไขมันในร่างกายที่มากเกิน ซึ่ง​อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของแต่ละบุคคล โรคอ้วนมีความสัมพันธ์กับภาวะแทรกซ้อนด้านสุขภาพมากกว่า 200 ชนิด ซึ่งส่งผลกระทบต่อทุกระบบอวัยวะในร่างกาย ประกอบด้วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ อาการปวดข้อ และโรคมะเร็ง เป็นต้น1,2,3,4

มีคนจำนวนเท่าใดที่ได้รับผลกระทบจากโรคอ้วน​

ความชุกของโรคอ้วนทั่วโลกเพิ่มขึ้นเกือบสามเท่าตั้งแต่ปี พ.ศ. 25185 โรคอ้วนส่งผลกระทบต่อผู้คน 650 ล้านคนทั่วโลกในปัจจุบัน และคาดว่าจะเพิ่มมากขึ้นเกิน 1 พันล้านคนภายในปี พ.ศ. 25736,7 นอกจากนี้ คนรุ่นใหม่กําลังเผชิญกับโรคอ้วนตั้งแต่อายุยังน้อยและเป็นเวลานานกว่าคนรุ่นก่อน8

อาการและ ปัจจัยเสี่ยงของโรคอ้วนมีอะไรบ้าง

แม้ว่าโรคอ้วนจะไม่มีอาการเฉพาะของโรค แต่การมีดัชนีมวลกาย(BMI) ที่สูง และการกระจายไขมันในร่างกายที่ไม่เหมาะสมซึ่งสามารถประเมินได้โดยการวัดเส้นรอบเอว - สามารถช่วยให้ผู้ให้บริการด้านสุขภาพสามารถวินิจฉัยโรคอ้วนได้10

ปัจจัยเสี่ยงของโรคอ้วน ได้แก่ อาหารและการดําเนินชีวิต อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยเสี่ยงหลายประการที่ไม่สามารถควบคุมได้ เช่น พันธุกรรม ฮอร์โมน และภาวะทางการแพทย์อื่นๆ​9

การวินิจฉัยโรคอ้วนทำได้อย่างไร​

สถาบันสุขภาพแห่งชาติแนะนําให้เด็กและผู้ใหญ่เข้ารับการตรวจคัดกรองเป็นประจําทุกปี เพื่อตรวจสอบว่าพวกเขามีค่าดัชนีมวลกายที่สูงขึ้นหรือไม่ โดยผู้ใหญ่​มีค่าดัชนีมวลกายสูงกว่า 30 จะถือว่าเป็นโรคอ้วน และเด็กที่อายุ 2 ปีขึ้นขึ้นไปจะถือว่าเป็นโรคอ้วน หากมีค่าดัชนีมวลกายอยู่ที่เปอร์เซ็นไทล์ที่ 95 หรือสูงกว่า เมื่อเทียบกับเด็กคนอื่นๆ ที่มีอายุเท่ากัน​ในเพศเดียวกัน10

โรคอ้วนสามารถรักษาได้หรือไม่

แม้ว่าการควบคุมอาหารและการออกกําลังกายจะเป็นส่วนสําคัญของการแก้ปัญหาสําหรับผู้ที่เป็นโรคอ้วน แต่วิธีการเหล่านี้เพียงอย่างเดียวอาจไม่มีประสิทธิภาพในการส่งเสริมการลดน้ำหนักอย่างยั่งยืน2 การรักษาด้วยยาที่มีอยู่ในปัจจุบันมีข้อจํากัด ไม่ว่าจะเป็นประสิทธิภาพที่ต่ำและผลข้างเคียงที่รุนแรง​ และพบว่าผู้ให้บริการด้านสุขภาพมักไม่แนะนำให้ใช้ยาดังกล่าวในการรักษาผู้ที่​เป็นโรคอ้วนเมื่อเทียบกับวิธีการรักษาอื่นๆ11

อ้างอิง

  1. Kelishadi R, Djalalinia S, Qorbani M, Peykari N. Health impacts of Obesity. Pakistan Journal of Medical Sciences. 2014;31(1). doi:10.12669/pjms.311.7033.

  2. Ahima RS. Digging deeper into obesity. J Clin Invest. 2011;121(6):2076-2079.

  3. Yuen MM et al. A Systematic Review and Evaluation of Current Evidence Reveals 195 Obesity-Associated Disorders (OBAD). Presented at: Obesity Week 2016; October 31–November 4, 2016; New Orleans, LA. Poster T-P-3166. Manuscript in preparation.

  4. Jastreboff AM et al. Obesity as a Disease: The Obesity Society 2018 Position Statement. Obesity (Silver Spring). 2019;27:7-9.

  5. Blüher M. Obesity: global epidemiology and pathogenesis. Nat Rev Endocrinol. 2019;15(5):288-298.

  6. WHO. Obesity and overweight. (February 2018) https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/obesity-and-overweight.

  7. Kelly T et al. Global burden of obesity in 2005 and projections to 2030. Int J Obes (Lond). 2008;32:1431-1437.

  8. Study finds rise in obesity related cancers in young adults in the U.S. American Cancer Society MediaRoom. http://pressroom.cancer.org/JemalTrendsInYoung2019. Accessed November 7, 2019.

  9. Wilborn C, Beckham J, Campbell B, et al. Obesity: prevalence, theories, medical consequences, management, and research directions. J Int Soc Sports Nutr. 2005;2:4-31.

  10. National Institutes of Health. Overweight and Obesity. https://www.nhlbi.nih.gov/health-topics/overweight-and-obesity.

  11. Kaplan LM, Golden A, Jinnett K, et al. Perceptions of Barriers to Effective Obesity Care: Results from the National ACTION Study. Obesity (Silver Spring). 2018;26(1):61‐69. doi:10.1002/oby.22054.

PP-UNP-THA-0697​
ร่วมงานกับเรา เงื่อนไขการใช้บริการ นโยบายความเป็นส่วนตัวโปรดปรึกษาแพทย์หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับโรคหรือการใช้ยา
 
บริษัท ไฟเซอร์ (ประเทศไทย) จำกัด 1 อาคารพาร์ค สีลม ชั้น 27 ห้อง 2701-2704 และ 2707-2708 ถนนคอนแวนต์ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500 โทรศัพท์ 02-761-4555
 
บริษัท ไฟเซอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ขอสงวนสิทธิในลิขสิทธิ์ทั้งปวง ข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ในไซต์นี้มีไว้เฉพาะเพื่อบุคคลซึ่งมีถิ่นที่ อยู่ในประเทศไทยเท่านั้น ฉลากผลิตภัณฑ์และเอกสารกำกับยาของ ผลิตภัณฑ์ที่มีการกล่าวถึงในไซต์นี้อาจแตกต่างกันในแต่ละประเทศ บริษัท ไฟเซอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ในฐานะส่วนหนึ่งของกลุ่มบริษัท ไฟเซอร์เป็นบริษัทเวชภัณฑ์ที่มีความมุ่งมั่นที่จะช่วยพัฒนาสุขภาพของ บุคคลโดยการวิจัยและพัฒนายา
 
Copyright © Pfizer (Thailand) Limited. All rights reserved.