โรคลูปัสเป็นโรคเรื้อรัง ที่ทําให้เกิดการอักเสบซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อหลายส่วนของร่างกาย
ข้อมูลการศึกษาโรค
โรคลูปัสเป็นโรคเรื้อรังที่ทําให้เกิดการอักเสบซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อหลายส่วนของร่างกาย โดยมักจะส่งผลกระทบต่อผิวหนัง ข้อต่อ และอวัยวะอื่นๆ ในร่างกาย เช่น ไต เยื่อบุปอด หัวใจ และสมอง i,ii อาการของโรคลูปัสสามารถเกิดขึ้นและหายไปได้ โดยอาจมีอาการใหม่เกิดขึ้นเมื่อใดก็ได้iii โรคลูปัสมีหลายรูปแบบ โดยชนิดที่พบบ่อยที่สุดเรียกว่า Systemic Lupus Erythematous (SLE) iv
ยังไม่ทราบสาเหตุของโรคที่แน่ชัด นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าโรคลูปัสอาจเกิดขึ้นจากการตอบสนองต่อปัจจัยหลายอย่างร่วมกัน ซึ่งประกอบด้วยยีนและสิ่งแวดล้อม (เช่น การสัมผัสกับการติดเชื้อไวรัส แสงอัลตราไวโอเลต (UV) ยาบางชนิด และการสูบบุหรี่)
ผู้คนประมาณ 1.5 ล้านคนในสหรัฐอเมริกาป่วยด้วยโรคลูปัสvii โดย SLE เป็นชนิดที่พบบ่อยที่สุดของโรคลูปัส สามารถส่งผลกระทบต่อเพศชายและเพศหญิงทุกวัย รวมถึงเด็กด้วย อย่างไรก็ตาม โรคลูปัสพบได้บ่อยในผู้หญิงที่มีอายุระหว่าง 15 ถึง 44 ปี โดยกลุ่มชนกลุ่มน้อย และกลุ่มชาติพันธุ์ได้รับผลกระทบมากกว่าคนผิวขาว โรคลูปัสพบได้บ่อยในผู้หญิงแอฟริกันอเมริกันมากกว่าผู้หญิงคอเคเซียน 2-3 เท่า นอกจากนี้ยังพบได้บ่อยในผู้หญิงเชื้อสายฮิสแปนิก เอเชีย และอเมริกันพื้นเมือง โดยผู้หญิงแอฟริกันอเมริกันและฮิสแปนิกมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคลูปัสชนิดรุนแรง
โรคลูปัสมีอาการหลายอย่าง โดยอาการที่พบบ่อย ได้แก่iii, iv
อาการปวดหรือบวมตามข้อ
ปวดกล้ามเนื้อ
มีไข้ขณะที่ไม่ได้ป่วย
ผื่นผิวหนังต่างๆ ผื่นแดงชนิดหนึ่งที่พบได้บ่อยคือ ผื่นรูปผีเสื้อบนใบหน้าและแก้ม ซึ่งผื่นนี้สามารถแย่ลงได้เมื่อโดนแสงแดด
เจ็บหน้าอกเมื่อหายใจเข้าลึกๆ
ผมร่วง
นิ้วมือหรือนิ้วเท้าซีดหรือมีสีม่วง
ไวต่อแสงแดด
ขาบวมหรือบวมรอบดวงตา
แผลในปาก
ต่อมน้ำเหลืองโต
รู้สึกเหนื่อยมาก
อาการอื่นๆ ที่พบได้น้อย ได้แก่ โลหิตจาง (มีจำนวนเม็ดเลือดแดงต่ำ)ix ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ รู้สึกเศร้า สับสน และชักx
น่าเสียดายที่ไม่มีการทดสอบชนิดใดชนิดหนึ่งที่แพทย์สามารถใช้ในการวินิจฉัยได้ แต่แพทย์จะใช้เครื่องมือและการประเมินหลายอย่างโดยเริ่มจากองค์ประกอบที่สำคัญที่สุด คือ ประวัติทางการแพทย์ ร่วมกับ xi
การตรวจร่างกายอย่างละเอียด
การตรวจเลือด
การตรวจชิ้นเนื้อผิวหนัง (การดูผิวหนังภายใต้กล้องจุลทรรศน์)
การตรวจชิ้นเนื้อไต (การดูเนื้อเยื่อจากไตใต้กล้องจุลทรรศน์)
การตรวจภาพถ่ายของอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย
การวินิจฉัยอาจใช้เวลาหลายเดือนหรือแม้กระทั่งหลายปี เนื่องจากอาการที่แตกต่างกันไปตามเวลาซึ่งทำให้การวินิจฉัยโรคลูปัสทำได้ยากขึ้น
ในปัจจุบัน ยังไม่มีวิธีการรักษาโรคลูปัสให้หายขาดได้ii หากคุณได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคลูปัสแพทย์จะวางแผนการรักษาร่วมกับคุณเพื่อ xiii
ป้องกันการกำเริบของโรค (ช่วงเวลาที่มีอาการ)
รักษาอาการเมื่อเกิดขึ้น
ลดความเสียหายต่ออวัยวะและป้องกันไม่ให้เกิดปัญหา
การรักษาอาจรวมถึงยาที่จะช่วย xiv
ลดอาการบวมและบรรเทาอาการปวด
ป้องกันหรือลดการเกิดอาการ
กดภูมิคุ้มกันที่ทำงานมากเกินไป
ป้องกันหรือลดความเสียหายต่อข้อต่อของคุณ
อ้างอิง
i. https://www.lupus.org/resources/what-is-lupus
ii. https://www.rheumatology.org/I-Am-A/Patient-Caregiver/Diseases-Conditions/Lupus
iii. https://www.lupus.org/resources/common-symptoms-of-lupus
iv. https://www.lupus.org/resources/types-of-lupus
v. https://www.niams.nih.gov/health-topics/lupus#tab-causes
vi. https://www.lupus.org/resources/what-causes-lupus
vii. https://www.lupus.org/resources/lupus-facts-and-statistics
viii. https://medlineplus.gov/lupus.html
ix. https://www.uptodate.com/contents/hematologic-manifestations-of-systemic-lupus-erythematosus
x. https://www.niams.nih.gov/health-topics/lupus#tab-symptoms
xi. https://www.niams.nih.gov/health-topics/lupus#tab-diagnosis
xii. https://www.lupus.org/resources/diagnosing-lupus-guide
xiii. https://www.niams.nih.gov/health-topics/lupus#tab-treatment
xiv. https://www.lupus.org/resources/finding-the-treatment-approach-for-you