Contact UsInvestorsCareersMediaScienceContact Us ติดต่อเราInvestorsCareersMediaScienceContact Us

โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง​

โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง เป็นหนึ่งในภาวะผิวหนังอักเสบเรื้อรังที่พบได้บ่อยที่สุด ส่งผลกระทบต่อประชากรทุกเพศทุกวัยทั่วโลก​

หน้าหลักวิทยาศาสตร์โรคและเงื่อนไขโรคผิวหนังภูมิแพ้

ข้อมูลการศึกษาโรค

โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง เป็นหนึ่งในภาวะผิวหนังอักเสบเรื้อรังที่พบได้บ่อยที่สุด ส่งผลกระทบต่อประชากรทุกเพศทุกวัยทั่วโลก​1,2 โดยโรคนี้ปรากฏในลักษณะของผื่นหรือรอยโรคที่ผิวหนัง ทําให้เกิดอาการคันและอาจมีอาการรุนแรงขึ้นและกำเริบเป็นระยะๆ โรคนี้เป็นมากกว่า “ผื่น” โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังสามารถเป็นภาวะที่รุนแรงจนกระทบต่อการชีวิตประจำวันของผู้ป่วย และส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตได้​เช่น การนอนไม่หลับ ความรู้สึกอับอาย และการไม่มีสมาธิในการทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังสามารถจำแนกตามความรุนแรงได้เป็นระดับ​ไม่รุนแรง รุนแรงปานกลาง หรือรุนแรงมาก ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ขอบเขตและความรุนแรงของของผื่น​​​​​​​​2

แม้ว่าโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังจะไม่มีวิธีรักษาให้หายขาด แต่มีการรักษาที่สามารถใช้ได้ในปัจจุบันซึ่งมุ่งหวังเพื่อรักษาอาการผื่นและบรรเทาอาการ เช่น การบรรเทาอาการคันซึ่งเป็นอาการเด่นของโรค​1,6 อย่างไรก็ตาม ยังมีความต้องการอื่นๆที่ยังไม่ได้รับการตอบสนองอย่างมาก และยังมีความต้องการ​​​​​​​​ทางเลือกใหม่ๆ สำหรับการรักษาในระยะยาวที่มีทั้งประสิทธิภาพและความปลอดภัย​​​​​​​​7​​​​​​​

ที่ไฟเซอร์ ผู้ป่วยคือศูนย์กลางของทุกสิ่งที่เราทำ เรามุ่งมั่นที่จะช่วยให้ผู้ป่วยมีอิสระจากความทุกข์ทรมานในชีวิตประจำวันจากโรคอักเสบเรื้อรัง เช่น โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง และความพยายามของเราในการสนับสนุนผู้ป่วยที่ใช้ชีวิตกับภาวะนี้ได้ด้านล่างนี้​

ใครที่อาจเป็นโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง

เนื่องจากโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังเป็นหนึ่งในภาวะผิวหนังอักเสบเรื้อรังและกลับเป็นซ้ำบ่อยที่สุด โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังส่งผลกระทบต่อผู้คนหลายร้อยล้านคนทั่วโลก โดยคิดเป็นประมาณร้อยละ 10 ของผู้ใหญ่​ และประมาณร้อยละ 20 ของเด็ก1,8 ประมาณ 1 ใน 3 ของผู้ที่เป็นโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง​มีความรุนแรงของโรคอยู่ในระดับปานกลางถึงรุนแรงมาก2,9

โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังเชื่อว่ามีสาเหตุการเกิดหลายอย่าง รวมถึงปัจจัยทางพันธุกรรม และมีแนวโน้มที่จะพัฒนาโรคขึ้นในผู้ที่มีพ่อหรือแม่เป็นโรคหืด ไข้ละอองฟาง หรือโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง1

แม้ว่าโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังจะสามารถส่งผลกระทบต่อคนทุกเพศและทุกวัยและทุกเพศทั่วโลก แต่ไม่ใช่ทุกกลุ่มที่จะได้รับผลกระทบในลักษณะเดียวกัน1,2,10 ตัวอย่างเช่น ในการศึกษาหนึ่งพบว่า เด็กและผู้ใหญ่ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลจากโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังแนวโน้มที่จะไม่ใช่คนผิวขาว​กว่าคนผิวขาว11

อาการของโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังเป็นอย่างไร

อาการที่พบบ่อยของโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง ได้แก่1

  • อาการคัน (pruritus)

  • ผื่นแดง/ชมพูหรือเปลี่ยนสี

  • ผื่นหนาแข็ง

  • ผื่นแห้งหรือเป็นตุ่มนูน

  • แผลพุพองหรือแผลเปื่อย

อาการเด่นของโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังคืออาการคันที่ทำให้เกิดความรำคาญ ซึ่งจากแบบสอบถามหนึ่งพบว่า จากผุ้ป่วย 304 คน ผู้ป่วยร้อยละ 91 รายงานว่าเกิดอาการคันอย่างน้อยหนึ่งครั้งต่อวัน​6,12 อาการคันนี้สามารถรบกวนการใช้ชีวิตประจำวันของผู้ป่วยได้ เนื่องจากผู้ป่วยโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังมักจะนอนไม่หลับ ซึ่งอาจทําให้พวกเขารู้สึกเหนื่อยล้า และส่งผลให้สุขภาพไม่ดีตามมา13

นอกจากภาวะทางร่างกายแล้ว โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังยังสามารถส่งผลกระทบร้ายแรงต่อสุขภาวะทางจิต ทําให้ผู้ป่วยรู้สึกอับอาย หดหู่ ไม่มีความสุข หรือขาดความมั่นใจในตนเอง5 ตัวอย่างเช่น ในการศึกษาหนึ่งพบว่าร้อยละ 43 ของผู้ป่วย 2,002 รายที่เป็นโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง​ในระดับปานกลางถึงรุนแรงประสบกับความกังวลเกี่ยวกับการถูกพบเห็นในที่สาธารณะในช่วงที่มีอาการกำเริบ​​​​​​​5 และมากกว่า​ครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง​ในระดับปานกลางถึงรุนแรงในการศึกษาเดียวกันนี้ชี้ให้เห็นว่าพวกเขารู้สึกหดหู่ในบางครั้ง5  ดังนั้น ผู้ที่เป็นโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง​ควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับผลกระทบที่ “ไม่เห็นได้ชัด​” เหล่านี้ด้วย

การใช้ชีวิตกับโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังอาจส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของผู้ป่วย5 เช่น ผู้ป่วยจํานวนมากหลีกเลี่ยงกิจกรรมบางอย่างในขณะที่มีอาการกำเริบ เช่น การว่ายน้ำ การอาบน้ำ​ หรือการสวมเสื้อผ้าบางประเภท5 ในการศึกษาเดียวกันนี้ ผู้ป่วยโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังในระดับปานกลางถึงรุนแรงรายงานว่าต้องขาดเรียนหรือหยุดงานประมาณ 2.5 วันต่อปี​ เนื่องจากอาการป่วยของพวกเขา5 ผลกระทบต่อผู้ดูแล เช่น พ่อหรือแม่ ก็มีความสําคัญเช่นกัน โดยบางคนใช้เวลา 2-3 ชั่วโมงต่อวันในการจัดการกับโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังของบุตรหลาน14

การวินิจฉัยโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังทำได้อย่างไร​

โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง​มักได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์โดยการตรวจสอบผิวหนังของผู้ป่วย และทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้อง15 โดยทั่วไป ไม่จําเป็นต้องมีการตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อวินิจฉัยโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง16 ลักษณะที่จำเป็นในการวินิจฉัยโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง ได้แก่ อาการคัน ตําแหน่ง และลักษณะของผื่น15 ลักษณะที่จำเป็นในการวินิจฉัยโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง ได้แก่ ประวัติส่วนตัวหรือครอบครัวที่เป็นโรคหืด ไข้ละอองฟาง และโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง​ ช่วงอายุที่เริ่มมีอาการ และความแห้งของผิวหนัง​15

สิ่งสำคัญคือควรติดตามสัญญาณที่เปลี่ยนแปลงไปของผิวหนังในช่วงระหว่างการพบแพทย์​ เช่น อาการผื่น และควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับกระทบที่ “ไม่เห็นได้ชัด” ด้วย​ สําหรับผู้ป่วยที่รับการรักษากับแพทย์ทั่วไปหรือแพทย์ประจําครอบครัวแล้วอาการของโรคไม่ดีขึ้น ควรขอคำแนะนำจากแพทย์ผิวหนังเฉพาะทาง

โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังสามารถรักษาได้หรือไม่?

แม้ว่าโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังจะไม่มีวิธีรักษาให้หายขาด แต่มีหลายทางเลือกการรักษาที่สามารถใช้ได้​ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค1 ได้แก่1

  • การรักษาเฉพาะที่ ซึ่งใช้ทาลงบนผิวหนังโดยตรง เช่น ครีมหรือขี้ผึ้ง​
  • การรักษาเชิงระบบ ซึ่งอาจเป็นการรับประทานยาหรือการฉีดยาที่มีผลต่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย

ผู้ป่วยควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับทางเลือกการรักษาที่มีอยู่และสร้างแผนการรักษาร่วมกัน

ยังคงมีความจำเป็นเร่งด่วนสำหรับทางเลือกการรักษาใหม่ๆ สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาที่มีอยู่ในปัจจุบัน​

อ้างอิง

  1. Weidinger S, Beck LA, Bieber T, Kabashima K, Irvine AD. Atopic dermatitis. Nat Rev Dis Primers. 2018;4:1. doi.org/10.1038/s41572-018-0001-z.
  2. Silverberg JI. Public health burden and epidemiology of atopic dermatitis. Dermatol Clin. 2017;35:283-289.
  3. Anderson RT, Rajagopalan R. Effects of allergic dermatosis on health-related quality of life. Curr Allergy Asthma Rep. 2001;1:309-315.
  4. Na CH, Chung J, Simpson EL. Quality of life and disease impact of atopic dermatitis and psoriasis on children and their families. Children (Basel). 2019;6:133. oi:10.3390/children6120133.
  5. Zuberbier T, Orlow SJ, Paller AS, et al. Patient perspectives on the management of atopic dermatitis. J Allergy Clin Immunol. 2006;118(1):226-232.
  6. Wahlgren CF. (1999), Itch and atopic dermatitis: an overview. J Dermatol. 1999:26:770-779.
  7. Simpson E, Udkoff J, Borok J, Tom W, Beck L, Eichenfield LF. Atopic dermatitis: emerging therapies. Semin Cutan Med Surg. 2017;36(3): 124-130. doi:10.12788/j.sder.2017.0137.
  8. Nutten S. Atopic dermatitis: global epidemiology and risk factors. Ann Nutr Metab. 2015;66(suppl 1):8-16.
  9. Chiesa Fuxench ZC, Block JK, Boguniewicz M, et al. Atopic dermatitis in America study: a cross-sectional study examining the prevalence and disease burden of atopic dermatitis in the US adult population. J Invest Dermatol. 2019;139(3):583-590.
  10. Brunner PM, Guttman-Yassky E. Racial differences in atopic dermatitis. Ann Allergy Asthma Immunol. 2019;122:449-455. doi:10.1016/j.anai.2018.11.015.
  11. Narla S, Hsu DY, Thyssen JP, Silverberg JI. Predictors of hospitalization, length of stay, and costs of care among adult and pediatric inpatients with atopic dermatitis in the United States. Dermatitis. 2018;29(1):22-31.
  12. Dawn A, Papoiu ADP, Chan YH, Rapp SR, Rassette N, Yosipovitch G. Itch characteristics in atopic dermatitis: results of a web-based questionnaire. Br J Dermatol. 2009;160:642-644. doi:10.1111/j.1365-2133.2008.08941.
  13. Silverberg JI, Garg NK, Paller AS, Fishbein AB, Zee PC. Sleep disturbances in adults with eczema are associated with impaired overall health: a US population-based study. J Invest Dermatol. 2015;135:56-66. doi:10.1038/jid.2014.325.
  14. Su JC, Kemp AS, Varigos GA, Nolan TM. Atopic eczema: its impact on the family and financial cost. Arch Dis Child. 1997;76:159-162.
  15.  Eichenfield LF, Tom WL, Chamlin SL, et al. Guidelines of care for the management of atopic dermatitis: section 1 - diagnosis and assessment of atopic dermatitis. J Am Acad Dermatol. 2014;70:338-351.
  16. Siegfried EC, Hebert AA. Diagnosis of atopic dermatitis: mimics, overlaps, and complications. J Clin Med. 2015;4(5):884-917. doi:10.3390/jcm4050884.
PP-UNP-THA-0695​
ร่วมงานกับเรา เงื่อนไขการใช้บริการ นโยบายความเป็นส่วนตัวโปรดปรึกษาแพทย์หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับโรคหรือการใช้ยา
 
บริษัท ไฟเซอร์ (ประเทศไทย) จำกัด 1 อาคารพาร์ค สีลม ชั้น 27 ห้อง 2701-2704 และ 2707-2708 ถนนคอนแวนต์ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500 โทรศัพท์ 02-761-4555
 
บริษัท ไฟเซอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ขอสงวนสิทธิในลิขสิทธิ์ทั้งปวง ข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ในไซต์นี้มีไว้เฉพาะเพื่อบุคคลซึ่งมีถิ่นที่ อยู่ในประเทศไทยเท่านั้น ฉลากผลิตภัณฑ์และเอกสารกำกับยาของ ผลิตภัณฑ์ที่มีการกล่าวถึงในไซต์นี้อาจแตกต่างกันในแต่ละประเทศ บริษัท ไฟเซอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ในฐานะส่วนหนึ่งของกลุ่มบริษัท ไฟเซอร์เป็นบริษัทเวชภัณฑ์ที่มีความมุ่งมั่นที่จะช่วยพัฒนาสุขภาพของ บุคคลโดยการวิจัยและพัฒนายา
 
Copyright © Pfizer (Thailand) Limited. All rights reserved.