Contact UsInvestorsCareersMediaScienceContact Us ติดต่อเราInvestorsCareersMediaScienceContact Us
หน้าหลักแหล่งความรู้นวัตกรรมนวัตกรรมยีนบำบัดการรักษาด้วยยีน

ยีนบำบัด: การรักษาด้วยยีน

ยีนบำบัดคือยารุ่นต่อไปที่มุ่งเป้าไปที่สาเหตุของโรคทางพันธุกรรม ซึ่งมีศักยภาพในการมอบประโยชน์ทางการรักษาที่ดีขึ้น และช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยได้อย่างมาก

ยีนคืออะไร?

ยีนเป็นหน่วยพื้นฐานของทางกายภาพและการทำงานของการถ่ายทอดทางพันธุกรรม ซึ่งประกอบด้วยดีเอ็นเอ​1 โครงการจีโนมมนุษย์ประมาณการว่ามนุษย์มีจำนวนยีนอยู่ระหว่าง 20,000-25,000 ยีน1 แม้ว่ายีนจะมีขนาดเล็ก แต่ยีนของเราคือพิมพ์เขียวที่กำหนดการทำงานของแต่ละเซลล์ในร่างกาย ​ซึ่งประกอบด้วยดีเอ็นเอ 30 ล้านคู่เบส​

โรคทางพันธุกรรมคืออะไร?

โรคทางพันธุกรรมเกิดจากการเปลี่ยนแปลงใน ดีเอ็นเอ ของแต่ละบุคคล ซึ่งมักจะถูกถ่ายทอดทางพันธุกรรมหรือเกิดขึ้นเองโดยไม่มีสาเหตุที่ชัดเจน แต่พบได้ยาก​ ยีนมีบทบาทสำคัญในการกำหนดการทำงานของแต่ละเซลล์ในร่างกาย ซึ่งประกอบด้วยดีเอ็นเอ 30 ล้านคู่เบส​ หากมีการเสียหายเกิดขึ้นแม้แต่เพียงเบสเดียว อาจ​ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของยีน ทำให้เกิดโรคทางพันธุกรรม3 ซึ่งบางโรคอาจทำให้เกิดความพิการและเป็นอันตรายถึงชีวิตได้4

ยีนบำบัดคืออะไร?

การบำบัดด้วยยีนคือรุ่นใหม่ ที่นำยีนที่สามารถทำงานได้ปกติเข้าสู่​เนื้อเยื่อเป้าหมาย​ในร่างกายเพื่อสร้างโปรตีนที่ขาดหายไปหรือไม่สามารถทำงานได้ ด้วย​การรักษาด้วยยีน ทำให้การรักษาสามารถมุ่งเป้าเพื่อจัดการกับสาเหตุของโรคได้ในระดับเซลล์ และอาจรักษาได้ด้วยการรักษาเพียงครั้งเดียว​​5,6,7

การรักษาด้วยยีนแบบภายในร่างกาย (In Vivo) และภายนอกร่างกาย (Ex Vivo) ​คือะไร?

สำหรับการรักษาด้วยยีนโดยวิธี in vivo จะทำโดยการนำยีนที่สามารถทำงานได้​ถ่ายโอนไปยังเซลล์ภายในร่างกายผ่านการฉีดเข้าสู่เส้นเลือด และใช้เป็นพิมพ์เขียวในการสร้างโปรตีนที่ขาดหายไปหรือไม่สามารถทำงานได้​8  สำหรับวิธี ex vivo จะทำโดยการนำเซลล์ของผู้ป่วยออกมาจากร่างกายและทำการปรับแต่งยีนภายนอกร่างกาย จากนั้นจึงทำการฉีดยีนที่แก้ไขให้สามารถทำงานได้กลับเข้าสู่ร่างกาย​9

การแก้ไขยีนคืออะไร?

การแก้ไขยีนคือการเปลี่ยนแปลง ดีเอ็นเอ ของผู้ป่วยอย่างแม่นยำ​โดยใช้เอนไซม์ที่มีความจำเพาะ​ (เช่น CRISPR, Zinc Finger)10,11 วิธีการนี้เอนไซม์ที่มีความจำเพาะ หรือเพิ่มยีนที่สามารถทำงานได้เข้าสู่ร่างกายของผู้ป่วย10

มีวิธีการทางพันธุกรรมอื่น ๆ หรือไม่?

อีกหนึ่งวิธีคือการใช้เทคโนโลยี อาร์เอ็นเอ​ เพื่อเปลี่ยนการแสดงออกของยีนโดยกำหนดเป้าหมายผลิตภัณ์ที่ได้จากกระบวนการถอดรหัสดีเอ็นเอ (อาร์เอ็นเอ)​ โดยวิธีการนี้สามารถหยุดการทำงานของยีนที่ทำงานผิดปกติซึ่งเกี่ยวข้องกับโรคทางพันุกรรมได้​

การบำบัดด้วยยีน: ความก้าวหน้าที่เปลี่ยนชีวิตของผู้ป่วย

โปรดคลิกที่ภาพด้านล่างเพื่อดาวน์โหลดเอกสารข้อมูล Gene Therapy Fact Sheet:

ยีนบำบัดมีประโยชน์อย่างไร​?

ยีนบำบัดแตกต่างจากการรักษาด้วยยาในปัจจุบัน ที่มักจะต้องรับประทานยาบ่อยครั้ง และ​และมุ่งเน้นที่การจัดการอาการและชะลอการดำเนินของโรค ยีนบำบัดมีจุดมุ่งหมายเพื่อแก้ไขยีนที่ไม่ทำงานให้กลับมาเป็นปกติและให้ประโยชน์ในการรักษาในระยะยาวด้วยการให้ยาเพียงแค่ครั้งเดียว​5,6,7

อย่างไรก็ตาม แม้ว่ายีนบำบัดจะเป็นวิธีการที่มีแนวโน้มที่ดีในการรักษาผู้ที่มีโรคทางพันธุกรรม แต่ก็ไม่ใช่วิธีการรักษาที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยทุกราย ความเสี่ยงและผลประโยชน์ที่อาจเกิดขึ้นจากการบำบัดด้วยยีนจะต้องได้รับการประเมิน และวิจัยต่อไป​​13

อะไรคือความท้าทายที่อาจเกิดขึ้นในการบำบัดด้วยยีน?

ผู้ป่วยบางรายอาจเคยได้รับเชื้อไวรัส AAV (Adeno-Associated virus)​ ทำให้ร่างกายมีการสร้างแอนติบอดีต่อไวรัสนี้ ชนิดนี้ ส่งผลให้​ไม่สามารถรับการบำบัดด้วยยีนได้ หากผู้ป่วยเหล่านี้รับการบำบัดด้วยยีน​​อาจมีการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันทันทีหลังการรักษา โดยร่างกายของผู้ป่วย จะทำให้ยีนที่ใช้ในการบำบัดสูญเสียหน้าที่13 หากสามารถตรวจพบได้เร็ว การตอบสนองเหล่านี้อาจสามารถรักษาได้ด้วยสเตียรอยด์ ซึ่งอาจทำให้การทำงานของยีนยังคงมีเสถียรภาพ​14

การตอบสนองเหล่านี้อาจสามารถรักษาได้?

ในการเข้ารับการบำบัดด้วยยีน​จะถูกกำหนดโดยเกณฑ์หลายประการ ประกอบด้วย​การตรวจเลือดเพื่อตรวจหาแอนติบอดีต่อยีนที่ใช้ในการรักษา​สำหรับผู้ป่วย​ ผู้ป่วยสามารถปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับเกณฑ์และผลการทดสอบเพื่อกำหนดแนวทางการรักษาเป็นรายบุคคล​15,16 ปัจจัยที่อาจทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถ​รับการบำบัดด้วยยีนได้ ได้แก่ ผู้ป่วยมีแอนติบอดีที่จะทำให้การบำบัดด้วยยีนสูญเสียประสิทธิภาพ​ และผู้ป่วยที่เคยได้รับยีนบำบัดมาก่อนและร่างกายสร้างแอนติบอดีต่อยีนนั้นๆ​ นอกจากนี้ การมีโรคร่วมบางชนิด​ และอายุของผู้ป่วยขณะทำการรักษาก็เป็นปัจจัยสำคัญ​

การบำบัดด้วยยีนมีประสิทธิภาพนานเพียงใด?​

 ในปัจจุบันยังคงมีการศึกษาจำนวนมากเพื่อหาคำตอบเกี่ยวกับยีนบำบัด รวมถึงการศึกษาระยะเวลาที่การบำบัดด้วยยีนจะยังคงมีประสิทธิภาพ​15  อย่างไรก็ตามหลักฐานในปัจจุบัน​บ่งชี้ว่าการบำบัดด้วยยีนมีศักยภาพที่จะเพิ่มหรือฟื้นฟูการทำงานของเนื้อเยื่อหรือเซลล์ที่ได้รับผลกระทบในระยะยาว และอาจช่วยให้ผู้ป่วยสามารถจัดการกับโรคของตนเองได้โดยไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง

ข้อมูลอ้างอิง:

  1. NIH Genetics Home Reference. What is a Gene? https://ghr.nlm.nih.gov/primer/basics/gene. Accessed February 10, 2020.
  2. Forbes. How Many Possible Combinations of DNA Are There? https://www.forbes.com/sites/quora/2017/01/20/how-many-possible-combinations-of-dna-are-there/. Accessed February 10, 2020.
  3. NIH National Human Genome Research Institute. Genetic Disorders. https://www.genome.gov/For-Patients-and-Families/Genetic-Disorders. Accessed February 10, 2020.
  4. NIH Genetics Home Reference. How Can Gene Mutations Affect Health and Development? https://ghr.nlm.nih.gov/primer/mutationsanddisorders/mutationscausedisease. Accessed February 10, 2020.
  5. NIH Genetics Home Reference. How does Gene Therapy Work? https://ghr.nlm.nih.gov/primer/therapy/procedures. Accessed February 10, 2020.
  6. NIH Genetics Home Reference. What is Gene Therapy? https://ghr.nlm.nih.gov/primer/therapy/genetherapy. Accessed February 10, 2020.
  7.  Data on file. Pfizer Inc, New York, NY.
  8. Haasteren J, Hyde S, Gill D. Lessons Learned From Lung and Liver In-Vivo Gene Therapy: Implications for the Future. Expert Opin Biol Ther. 2018;18(9):959-972.
  9. Gowing G, Svendsen S, Svendsen CS. Ex Vivo Gene Therapy for the Treatment of Neurological Disorders. Prog Brain Res. 2017;230:99-132.
  10. NIH National Human Genome Research Institute. What is Genome Editing? https://www.genome.gov/about-genomics/policy-issues/what-is-Genome-Editing. Accessed February 10, 2020.
  11. Carroll D. Genome Engineering with Zinc-Finger Nucleases. Genetics. 2011;188(4):773-782.
  12.  Unniyampurath U, Krishnan M, et al. RNA Interference in the Age of CRISPR: Will CRISPR Interfere with RNAi? Int J Mol Sci. 2016;17(3):291.
  13.  Your Genome. Facts: What is Gene Therapy? http://www.yourgenome.org/facts/what-isgene-therapy. Accessed February 10, 2020.
  14. Arruda VR, Favaro P, Finn JD. Strategies to Modulate Immune Responses: A New Frontier for Gene Therapy. Mol Ther. 2009;17(9):1492–1503.
  15. Mingozzi F, High KA. Immune responses to AAV vectors: overcoming barriers to successful gene therapy. Blood. 2013;122(1):23-36.
  16.  Payne J. Antibody and antigen tests. Patient Platform Limited Web site. https://patient.info/health/antibody-and-antigen-tests. Accessed February 10, 2020.
PP-UNP-THA-0684​
ร่วมงานกับเรา เงื่อนไขการใช้บริการ นโยบายความเป็นส่วนตัวโปรดปรึกษาแพทย์หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับโรคหรือการใช้ยา
 
บริษัท ไฟเซอร์ (ประเทศไทย) จำกัด 1 อาคารพาร์ค สีลม ชั้น 27 ห้อง 2701-2704 และ 2707-2708 ถนนคอนแวนต์ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500 โทรศัพท์ 02-761-4555
 
บริษัท ไฟเซอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ขอสงวนสิทธิในลิขสิทธิ์ทั้งปวง ข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ในไซต์นี้มีไว้เฉพาะเพื่อบุคคลซึ่งมีถิ่นที่ อยู่ในประเทศไทยเท่านั้น ฉลากผลิตภัณฑ์และเอกสารกำกับยาของ ผลิตภัณฑ์ที่มีการกล่าวถึงในไซต์นี้อาจแตกต่างกันในแต่ละประเทศ บริษัท ไฟเซอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ในฐานะส่วนหนึ่งของกลุ่มบริษัท ไฟเซอร์เป็นบริษัทเวชภัณฑ์ที่มีความมุ่งมั่นที่จะช่วยพัฒนาสุขภาพของ บุคคลโดยการวิจัยและพัฒนายา
 
Copyright © Pfizer (Thailand) Limited. All rights reserved.